มัลติเพล็กซ์เซอร์ (Multiplexer : MUX)
มัลติเพล็กซ์เซอร์ (Multiplexer
: MUX) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า
ตัวเลือกข้อมูล(Data Selector) ซึ่งเป็นตัวที่ทำหน้าที่เลือกช่องสัญญาณที่มีข้อมูลช่องหนึ่งจากหลายๆช่องสัญญาณมาเป็นอินพุตและต่อช่องสัญญาณที่มีข้อมูลนั้นเข้าเป็นสัญญาณเอาต์พุตเพียงเอาต์พุตเดียว
ดังรูป
จากรูปทางด้านซ้ายนั้นได้แสดงอินพุตจำนวน
n
ขา ตั้งแต่ D0 ถึง Dn ขาซึ่งใช้สำหรับเลือกข้อมูล
S0 ถึง Smและขาเอาต์พุต Y ส่วนขาของ S0 ถึง Sm ใช้สำหรับการเลือกให้อินพุตใดจากอินพุต
D0 ถึง Dn ผ่านออกไปที่เอาต์พุต Yและจำนวนขาของ S นั้นก็ยังมีความสัมพันธ์กับจำนวนขาของอินพุต
D คือ เช่น ถ้ามีจำนวนอินพุตที่จะถูกเลือกจำนวน 4อินพุต จำนวนบิตของขาสำหรับเลือกข้อมูลจะเท่ากับ 2 (22
= 4) ถ้ามีจำนวนอินพุตที่จะถูกเลือกจำนวน 8 อินพุต จำนวนบิตของขาสำหรับเลือกข้อมูลจะเท่ากับ 3 (23
= 8) เป็นต้น
ซึ่งวิธีการรวมข้อมูลจากหลายๆ จุด
แล้วส่งผ่านไปตามสายส่งเพียงสายเดียวนั้น เรียกว่า multiplex ซึ่งสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 รูปแบบคือ
1) การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งเวลา
(Time Division Multiplexer หรือ TDM) เป็นวิธีที่เพิ่งจะได้รับการพัฒนาขึ้นมาได้ไม่นานนักการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งเวลาจะใช้เส้นทางเพียงเส้นทางเดียวและคลื่นพาห์ความถี่เดียวเท่านั้นแต่
ผู้ใช้แต่ละคนนั้นจะได้รับการจัดสรรเวลาในการเข้าใช้ช่องสัญญาณที่ต้องการนั้นเพื่อส่งข้อมูลไปยังปลายทางที่ตนต้องการ
2)
การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่ (Frequency Division Multiplexer หรือ FDM) เป็นวิธีที่ใช้กันทั้งระบบที่มีสายและระบบคลื่นวิทยุ
ซึ่งหลักการของการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่นี้คือ
การนำสัญญาณจากแหล่งต่างๆมารวมกัน ให้อยู่ในคลื่นพาห์เดียวกันที่ความถี่ต่างๆ
และสัญญาณเหล่านี้สามารถที่จะใช้เส้นทางร่วมกันได้ซึ่งต่างจากแบบแรกที่ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้
จากรูปที่ 4 แสดงตัวอย่างวงจรมัลติเพล็กซ์เซอร์ ที่ใช้ลอจิกเกตขนาด 4 อินพุต
รูปที่
5 โครงสร้างภายในไอซีเบอร์ 74157
ตารางที่
1 ตารางการทำงานของไอซีเบอร์ 74157
2.2 ไอซีเบอร์ 74153 (Dual 4-Line-to-1-Line Data
Selector/Multiplexer)
ไอซีเบอร์ 74153 เป็นไอซีเลือกข้อมูลจากข้อมูลอินพุต
4 อินพุต (C0 ถึง C3) ให้ออกที่เอาต์พุต เพียงเอาต์พุตเดียว จำนวน 2 ชุดในไอซี 1 ตัว
โดยใช้บิตของตัวเลือกข้อมูลร่วมกัน 2 บิต คือ B และ A มีขาสโตรบ (G) สำหรับควบคุมการทำงานของมัลติเพล็กซ์เซอร์ทั้ง
2 ชุด แสดงโครงสร้างภายในดังรูปที่ 6 และตารางการทำงานในตารางที่
2
รูปที่
6 โครงสร้างภายในไอซีเบอร์ 74153
ตารางที่
2 แสดงตารางการทำงานของไอซีเบอร์ 74153
2.3 ไอซีเบอร์ 74151 (8-Line-to-1-Line Data Selector/Multiplexer)
ไอซีเบอร์
74151 เป็นไอซีเลือกข้อมูลจากข้อมูลอินพุต 8
อินพุต (D0 ถึง D7) ให้ออกที่เอาท์พุต 2
เอาต์พุต
ซึ่งเอาต์พุตหนึ่งเป็นเอาต์พุตที่มีสภาวะลอจิกเหมือนกับอินพุตที่ถูกเลือก ส่วนอีก
เอาต์พุตหนึ่งมีสภาวะลอจิกตรงกันข้ามกับอินพุตที่ถูกเลือก โดยมีจำนวนบิต ของตัวเลือกข้อมูล
3 บิต มีขาสโตรบ (S) สำหรับควบคุมการทำงานของมัลติเพล็กซ์เซอร์ทำงานที่
ลอจิก “0”แสดงโครงสร้างภายในดังรูปที่ 7 และ ตารางการทำงานในตารางที่3
รูปที่
7 โครงสร้างภายในไอซีเบอร์ 74151
ตารางที่
3 ตารางการทำงานของไอซีเบอร์ 74151
2.4 ไอซีเบอร์ 74150 (16-Line-to-1-Line Data Selector/Multiplexer)
ไอซีเบอร์ 74150 เป็นไอซีเลือกข้อมูลจากข้อมูลอินพุต 16 อินพุต
(E0 ถึง E15)
ซึ่งเอาต์พุตที่ได้มีสภาวะลอจิกตรงกันข้ามกับอินพุตที่ถูกเลือก
โดยมีจำนวนบิตของตัวเลือกข้อมูล 4 บิต มีขาสโตรบ
สำหรับควบคุมการทำงานของมัลติเพล็กซ์เซอร์ทำงานที่ลอจิก “0” แสดงการจัดขาดังรูปที่
8 และตารางการทำงานในตารางที่ 4
ตารางที่ 4 แสดงตารางการทำงานของไอซีเบอร์ 74150
ตัวอย่างที่ 1 จงออกแบบวงจรมัลติเพล็กซ์เซอร์ เพื่อเลือกข้อมูลจากแหล่งข้อมูล 2 ชุด ที่มีจำนวนบิตของข้อมูลแต่ละชุดเท่ากับ 4 บิต ตามบล็อกไดอะแกรมรูปที่ 9
รูปที่
10
วงจรเลือกข้อมูลโดยใช้ไอซีเบอร์ 74157
ที่มา http://ukosx.blogspot.com/2015/11/blog-post.html