ผู้จัดทำ


สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable)

สายใยแก้วนำแสงคืออะไร เอาไว้ใช้ทำอะไร


สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) คือสายที่มีแกนผลิตด้วยใยแก้วบริสุทธิ์ มีคุณสมบัติหลักในกานำส่งลำแสงจากต้นทางไปยังปลายทาง เพื่อประโยชน์บางอย่าง หลักๆสำหรับสายงานของเรา คือการนำส่งข้อมูลเครือข่ายงคอมพิวเตอร์ (Network) เนื่องจากการนำส่งข้อมูลด้วยแสงผ่านสายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) สามารถนำส่งได้ในระยะทางที่ไม่จำกัด และสามาถส่งข้อมูลได้ในขนาดมากๆ(Bandwidth) และสาย Fiber Optic ยังไม่มีผลกระทบกับคลื่นสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้าด้วยครับ ปัจจุบัน ความต้องการในการรับ-ส่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ต้องการ Media ที่สามารถรับส่งข้อมูลได้ปริมาณที่มากขึ้น Fiber Optic จึงเป็นทางออกที่ดี และ ประกอบกับราคาค่าอุปกรณ์ และ ค่าบริการงาน Fiber Optic มีราคาที่ถูกลงมาก จึงเป็นที่นิยม ในการใช้ Media ประเภทนี้ ในการรับ-ส่งข้อมูล ปัจจุบัน นิยมเดินเป็นสาย Main หลัก (Back Bone) อยู่ยังไม่เป็นที่นิยมใช้เดินเป็นจุดย่อยๆ ภายใน ซึ่งยังเหมาะกับสาที่เป็นทองแดงอยู่ แต่ใน อนาคตอันใกล้ เราอาจจะได้เห็นสาย Fiber Optic เดินเป็นจุดย่อยภายในอาคาร กันแล้วครับ เพราะอนาคต ผมว่า ทองแดงคงจะแพงมากและหายากมากขึ้นครับ


สายใยแก้วนำแสงที่ใช้ในบ้านเรามีทั้งหมด 2 โหมดหลักๆ อันได้แก่
1. การส่งสัญญาณโหมดผสม (Multi Mode)
2. การส่งสัญญาณโหมดเดี่ยว (Single Mode)
คุณสมบัติของสาย Fiber Optic ชนิด Single Mode
        ออพติคเคเบิล 1 เส้น ประกอบด้วย ใยแก้วนำแสงตั้งแต่ 2 core ขึ้นไป มี 2 ชนิด คือ แบบ multi-mode (MM)และแบบ single-mod(SM)ความแตกต่างของทั้งสองชนิดนี้ คือขนาดของตัวใยแก้วใจกลางหรือที่เรียกว่า core

       1. Single Mode (SM) ออพติคเคเบิลเป็นสีเหลืองมีเส้นผ่าศูนย์กลางของ Core และ Cladding 9/125 um ตามลำดับ เนื่องจากขนาด core เส้นผ่าศูนย์กลาง 9 ไมครอน ขนาดเปลือกหุ้มเส้นผ่าศูนย์กลาง 125 ไมครอน เมื่อ core มีขนาดเล็กมาก ทำให้แสงเดินทางเป็นระเบียบขึ้น ทำให้เกิดการสูญเสียน้อยลง ความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดประมาณ 2,500 ล้านบิทต่อวินาทีต่อหนึ่งความยาวคลื่นแสงที่ 1300 นาโนเมตร ด้วยระยะทางไม่เกิน 20 กม. ระยะทางในการใช้งานจริง ได้ถึง 100 กม. และความเร็วจะลดลง แต่ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบิทต่อวินาที ข้อดีของ SM อีกอันหนึ่งก็คือ มันทำงานที่ความยาวคลื่นที่ 1300 นาโนเมตร ซึ่งเป็นช่วงที่มีการลดทอนแสงน้อยที่สุดซึ่งส่วนของแกนแก้วจะมีขนาดเล็กมากและจะให้แสงออกมาเพียง Mode เดียว แสงที่ใช้จะต้องเป็น เส้นตรง ข้อดีทำให้ส่งสัญญาณได้ไกล ตามรูป
     2. Multi Mode (MM) ออพติคเคเบิลมีสีส้ม จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของ Core และ Cladding 62/125 um และ   50/125 um ตามลำดับ เนื่องจากขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของแกนมีขนาดใหญ่ขนาด core เส้นผ่าศูนย์กลาง 50 ไมครอน ขนาดเปลือกหุ้มเส้นผ่าศูนย์กลาง 125 ไมครอน เนื่องจากมีขนาด core ใหญ่ ทำให้แสงที่เดินทางกระจัดกระจาย ทำให้แสงเกิดการหักล้างกัน จึงมีการสูญเสียของแสงมาก จึงส่งข้อมูลได้ไม่ไกลเกิน 200 เมตร ความเร็วก็ไม่เกิน 100 ล้านบิทต่อวินาที ที่ความยาวคลื่น 850 นาโนเมตร เหมาะสำหรับใช้ภายในอาคารเท่านั้น แต่มีข้อดีก็คือ ราคาถูก เพราะ core มีขนาดใหญ่ สามารถผลิตได้ง่ายกว่า


ทำให้แนวแสงเกิดขึ้นหลายโหมด โดยแต่ละ Mode จะมีระยะเวลาในการเดินทางที่แตกต่างกัน อันเป็นสาเหตุที่ทำให้        
เกิดการกระจายของแสง (Mode Dispersion)

สาย Fiber Optic แบ่งตามลักษณะการใช้งาน
     1. Tight Buffer เป็นสายไฟเบอร์แบบเดินภายในอาคาร (Indoor) 
โดยมีการหุ้มฉนวนอีกชั้นหนึ่งให้มี ความหนา 900 um เพื่อสะดวกในการใช้งานและป้องกันสายไฟเบอร์ในการติดตั้ง ปริมาณของ
เส้นใยแก้วบรรจุอยู่ไม่มากนัก เช่น 4,6,8 Core ส่วนสายที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์จะมีขนาด 1   Core ซึ่งเรียกว่า Simplex ขนาด 2 Core เรียกว่า Zip Core
     2. Loose Tube เป็นสายไฟเบอร์ที่ออกแบบมาใช้เดินภายนอกอาคาร (Outdoor) โดยการนำสายไฟ เบอร์มาไว้ในแท่งพลาสติก และใส่เยลกันน้ำเข้าไป เพื่อป้องกันไม่ให้สัมผัสกับแรงต่างๆ อีกทั้งยังกันน้ำซึมเข้าภายในสาย สายแบบ Outdoor ยังแบ่งตามลักษณะการใช้งานได้อีกดังนี้
            2.1 Duct Cable เป็นสาย Fiber Optic แบบร้อยท่อ โครงสร้างของสายไม่มีส่วนใดเป็นตัวนำ ไฟฟ้า ซึ่งจะไม่มีปัญหาเรื่องฟ้าผ่า แต่จะมีความแข้งแรงทนทานน้อย ในการติดตั้งจึงควร  ร้อยไปในท่อ Conduit หรือ HDPE (High-Density-Polyethylene)
            2.2 Direct Burial เป็นสาย Fiber Optic ที่ออกแบบมาให้สามารถใช้ฝังดินได้โดยไม่ต้องร้อยท่อ โดยโครงสร้างของสายจะมีส่วนของ Steel Armored เกราะ ช่วยป้องกัน และเพิ่ม  ความแข็งแรงให้สาย
            2.3 Figure - 8 เป็นสายไฟเบอร์ที่ใช้แขวนโยงระหว่างเสา โดยมีส่วนที่เป็นลวดสลิงทำหน้าที่รับ แรงดึงและประคองสาย  จึงทำให้สายมีรูปร่างหน้าตัดแบบเลข 8 จึงเรียกว่า Figure - 8
            2.4 ADSS (All Dielectric Self Support)  เป็นสายไฟเบอร์ ที่สามารถโยงระหว่างเสาได้ โดยไม่ต้องมีลวดสลิงเพื่อประคองสาย เนื่องจากโครงสร้างของสายประเภทนี้ ได้ถูกออกแบบให้ เป็น Double Jacket จึงทำให้มีความแข็งแรงสูง
     3. สายแบบ Indoor/Outdoor 
เป็นสายเคเบิลใยแก้วที่สามารถเดินได้ทั้งภายนอกและภายในอาคาร เป็นสายที่มีคุณสมบัติพิเศษที่เรียกว่า Low Smoke Zero Halogen (LSZH) 
ซึ่งเมื่อเกิดอัคคีภัย จะเกิดควันน้อยและควันไม่เป็นพิษ เมื่อเทียบกับ Jacket ของสายชนิดอื่น ที่จะลามไฟง่ายและเกิดควันพิษ
      เนื่องจากการเดินสายในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเดินภายนอกอาคาร ด้วยสาย Outdoor แล้วเข้า อาคาร ซึ่งผิดมาตรฐานสากล 
ดังนั้นจึงควรใช้สายประเภทนี้เมื่อมีการเดินจากภายนอกเข้าสู่ภายใน 


สายโคแอ็กเชียล

สายโคแอ็กเชียล

          สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable) เป็นสายสัญญาณประเภทแรกที่ใช้ และเป็นที่นิยมมากในเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัย แรก ๆ แต่ในปัจจุบันสายโคแอ็กซ์ถือได้ว่าเป็นสายที่ล้าสมัยสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามยังมีระบบ เครือข่ายบางประเภทที่ยังใช้สายประเภทนี้อยู่
          สายโคแอกเชียล มีตัวนำไฟฟ้าอยู่สองส่วน คำว่า โคแอ็กซ์ มีความหมายว่า "มีแกนร่วมกัน" โครงสร้างของสายประกอบด้วยสายทองแดงเป็นแกนกลาง แล้วห่อหุ้มด้วยวัสดุที่เป็นฉนวน ชั้นต่อมาจะเป็นตัวนำไฟฟ้าอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งจะเป็นแผ่น โลหะบาง ๆ หรืออาจจะเป็นใยโลหะที่ถักเปียปุ้มอีกชั้นหนึ่ง สุดท้ายก็หุ้มด้วยฉนวนและวัสดุป้องกันสายสัญญาณ

  ส่วนแกนเป็นส่วนที่นำสัญญาณข้อมูล ส่วนชั้นใยข่ายเป็นชั้นที่ใช้ป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอกและเป็นสายดิน ในตัว ดังนั้นสองส่วนนี้ต้องไม่เชื่อมต่อกันมิฉะนั้นอาจเกิดไฟช็อตได้ ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่โคแอ็กซ์จะมีลักษณะคล้ายกัน แต่ก็
สามารถแบ่งสายโคแอ็กซ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
               1. สายโคแอ็กซ์แบบบาง (Thin Coaxial Cable) สายโคแอ็กซ์แบบบาง (Thin Coaxial Cable หรือ Thinnet Cable) เป็น
สายที่มีขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.64 cm เนื่องจากสายประเภทนี้มีขนาดเล็กและมีความยืดหยุ่นสูงจึงสามารถใช้ได้ กับการติดตั้งเครือข่ายเกือบทุกประเภท สายประเภทนี้สามารถนำสัญญาณได้ไกลถึง 185 เมตร ก่อนที่สัญญาณจะเริ่มอ่อนกำลัง ลง บริษัทผู้ผลิตสายโคแอ็กซ์ได้ลงความเห็นร่วมกันในการแบ่งประเภทของสายโคแอ็กซ์ สายโคแอ็กซ์แบบบางได้ถูกรวมไว้ใน สายประเภท RG-58 ซึ่งสายประเภทนี้จะมีความต้านทาน (Impedance) ที่ 50 โอห์ม สายประเภทนี้จะมีแกนกลางอยู่ 2 ลักษณะคือ แบบที่เป็นสายทองแดงเส้นเดียวและแบบที่เป็นใยโลหะหลายเส้น
               2. สายโคแอ็กซ์แบบหนา (Thick Coaxial Cable) สายโคแอ็กซ์แบบหนา (Thicknet Cable) เป็นสายโคแอ็กซ์ที่ค่อนข้าง แข็ง และขนาดใหญ่กว่าสายโคแอ็กซ์แบบบาง โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.27 cm สายโคแอ็กซ์แบบหนานี้เป็นสายสัญญาณประเภทแรกที่ใช้กับเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ต ส่วนแกนกลางที่เป็นสายทองแดงของสายโคแอ็กซ์แบบหนาจะมีขนาดใหญ่กว่า ดังนั้นสายโคแอ็กซ์แบบหนานี้จึงสามารถนำ สัญญาณ ได้ไกลกว่าแบบบาง โดยสามารถนำสัญญาณได้ไกลถึง 500 เมตร ด้วยความสามารถนี้สายโคแอ็กซ์แบบหนาจึงนิยมใช้ ในการเชื่อมต่อเส้นทางหลักของข้อมูล หรือ แบ็คโบน (Backbone) ของเครือข่ายสมัยแรก ๆ แต่ปัจจุบันได้เลิกใช้สายโคแอ็กซ์แล้ว โดยสายที่นิยมใช้ทำเป็นแบ็คโบน คือ สายใยแก้วนำแสง ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดในส่วนต่อไป


ที่มา http://leemmii.blogspot.com/2012/12/blog-post_8211.html

สวิตช์ ( switch)

         วิตช์ ( switch)





เป็นอุปกรณ์เครือข่ายเช่นเดียวกันกับฮับ ( hub) และมีหน้าที่คล้ายกับฮับมาก แต่มีความแตกต่างที่ ในแต่ละพอร์ต (port) จะมีความสามารถในการส่งข้อมูลได้สูงกว่า เช่น สวิตช์ที่มีความเร็ว 10 Mbps นั้น จะหมายความว่า ในแต่ละพอร์ตจะสามารถส่งข้อมูลได้ที่ความเร็ว 10 Mbps และนอกจากนั้นเครื่องทุกเครื่องที่ต่อมายังสวิตช์ยังไม่ได้อยู่ใน Collision Domain เดียวกันด้วย (ซึ่งถ้าฮับจะอยู่) นั่นหมายความว่าแต่ละเครื่องจะได้ครอบครองสายสัญญาณแต่เพียงผู้เดียว จะไม่เกิดปัญหาการแย่งสายสัญญาณ และการชนกันของสัญญาณเกิดขึ้น
สวิตช์จะมีความสามารถมากกว่าฮับ แต่ยังมีการใช้งานอยู่ในวงจำกัดเพราะราคายังค่อนข้างสูงกว่าฮับอยู่มาก ดังนั้นจึงมีการนำสวิตช์มาใช้ในระบบเครือข่ายที่ต้องการแบ่ง domain เพื่อเพิ่มความเร็วในการติดต่อกับระบบ โดยอาจนำสวิตช์มาเป็นศูนย์กลาง และใช้ต่อเข้ากับเครื่องที่มีการเชื่อมต่อกับเครื่องอื่น ๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เพื่อจะได้ส่งข้อมูลได้ทีละมาก ๆ และส่งด้วยความเร็วสูง



การที่สวิตช์สามารถทำงานได้เร็วกว่าฮับนั้น นอกจากสวิตช์จะสามารถส่งข้อมูลออกได้มากกว่าแล้ว ในสวิตช์ยังมี route table ซึ่งเป็นหน่วยความจำของสวิตช์ ที่สามารถจำได้ว่าพอร์ตใดมี IP address หรือ MAC address ใดทำการเชื่อมต่ออยู่บ้าง ซึ่งทำให้การส่งข้อมูลเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และยังไม่เป็นการส่งข้อมูลในลักษณะกระจายไปทุกเครื่องของเครือข่ายที่เรียกว่า broadcast ซึ่งเป็นการสิ้นเปลือง bandwidth โดยไม่จำเป็น
Collision Domain
คำว่า collision มีความหมายว่า การชนกัน ซึ่งในทางคอมพิวเตอร์จะหมายความถึง การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายมากกว่า 1 เครื่องพยายามที่จะทำการส่งข้อมูลในเวลาเดียวกัน ทำให้เกิดการชนกันของข้อมูลที่ทำการส่ง ซึ่งคำว่า collision domain นั้นจะมีความหมายว่าเครื่องที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน และมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้เกิด collision ขึ้นได้ collision จะมีโอกาสเกิดได้น้อยหากว่าจำนวนเครื่องที่อยู่ใน collision domain เดียวกันมีจำนวนน้อย ซึ่งสวิตช์จะทำให้เครือข่ายที่เชื่อมต่อเข้ากันแยกออกเป็นโดเมนย่อย ๆ 


ที่มา http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/network/net_wan7.htm

การ์ดแลน

การ์ดแลนคืออะไร


การ์ดแลนเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง หรือไปยังอุปกรณ์อื่นๆ ในระบบเครือข่าย ดังนั้นคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องก็จะต้องมีการ์ดแลนเป็นส่วนประกอบสำคัญอีกอย่างหนึ่ง และโดยเฉพาะการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ADSL ตามบ้าน มักจะใช้การ์ดแลนเป็นตัวเชื่อมต่ออีกด้วย การใช้การ์ดแลน จะใช้ควบคู่กับสายแลนประเภท UTP หรือสายที่หลายๆ คนอาจเคยได้ยินคือสาย CAT5, CAT5e, CAT6 เป็นต้น
การเลือกซื้อการ์ดแลน
·  สำหรับเครื่องคอมฯ ตั้งโต๊ะ (Desktop Computer)
-  สามารถเลือกซื้อการ์ดแลนเป็นแบบติดตั้งภายใน หรือจะซื้อแบบเชื่อมต่อภายนอกแบบ USB ก็ได้ แต่ราคาจะสูงกว่าแบบติดตั้งภายในมาก
·   สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (Notebook Computer)
-       โดยปกติ Notebook ทุกรุ่นในปัจจุบัน จะมีพอร์ตในการเชื่อมต่อแบบสาย (Wire) และแบบไร้สาย (Wireless) มาให้ด้วยเสมอ แต่ถ้ามีปัญหา สามารถซื้อมาเพิ่มเติมได้ในแบบที่เป็น USB หรือจะซื้อแบบ PCMCIA ได้ (ถ้า Notebook ของเรามี port ชนิดนี้อยู่)

พอร์ตการเชื่อมต่อการ์ดแลน
ถ้าเป็นรุ่นที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อภายใน (สำหรับ Desktop Computer) เวลาเลือกซื้อต้องสอบถามให้ดีว่า เป็นุร่นที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อแบบไหน เช่น ISA (รุ่นนี้โบราณแล้ว อย่าซื้อ! ถ้าไม่จำเป็น), PCI รุ่นใหม่ เป็นต้น ส่วนราคาในปัจจุบันถูกลงมากๆ ครับ แค่หลักร้อยบาทเท่านั้น แต่อีกจุดหนึ่งที่ควรทราบคือ ความเร็ว ซึ่งแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ อาจมีความเร็วที่ต่างกันเช่น 10/100/1000 MBPS เรียกว่าถ้ามีตัวเลข 1000 ก็สามารถเลือกซื้อได้เลย
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=14414&Key=itnews

แอร์การ์ด

แอร์การ์ด


แอร์การ์ด (อังกฤษ: AirCard) คือ อุปกรณ์โมเด็มอย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ (Desktop หรือ Laptop) ของเราเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายความเร็วสูงโดยผ่านโครงข่ายสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ซึ่งในขณะที่เราเชื่อมต่อเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตไปแล้วยังสามารถใช้โทรศัพท์โทร.เข้า-ออกได้ในเวลาเดียวกัน เพราะระบบมีการใช้ช่องสัญญาณคนละช่องสัญญาณกัน แต่ใช้ Cellsite เดียวกัน หรือทำหน้าที่เป็นแฟ็กซ์ไร้สายได้ด้วย ดังนั้นไม่ว่าเราจะนั่งรถ ลงเรือ หรืออยู่ที่ไหนขอมีเพียงสัญญาณโทรศัพท์มือถือก็ใช้งานได้ทั้งนั้น เหมาะสำหรับใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ทั้ง PC Notebook Laptop เพื่อเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายความเร็วสูง โดยผ่านโครงข่ายสัญญาโทรศัพทืมือถือที่ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า GPRSและEDGE ในปัจจุบัน

ความแตกต่างระหว่าง AirCard กับ ระบบ Wi-Fi
Wi-Fi คือคุณสมบัติอันหนึ่งที่ทำให้เราเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตใดๆ ก็ได้แบบไร้สาย (Wireless LAN) ในระยะห่างไม่เกิน 100 เมตรจากตัวแม่ข่ายของ Wi-Fi นั้นๆ หากไม่มีตัวแม่ข่ายการสื่อสารข้อมูลก็จะทำไม่ได้
AirCard คือ โมเด็มอย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย โดยใช้สัญญาณโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีการเชื่อมสัญญาณเข้ากับ Cellsite ของเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ทำให้เล่นเน็ตที่ไหนก็ได้ที่มีสัญญาณโทรศัพท์มือถือ

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%94

Hub (ฮับ)

Hub (ฮับ) 



Hub (ฮับ) หรือบางทีก็เรียกว่า "รีพีตเตอร์ (Repeater)" คือ อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มของคอมพิวเตอร์ Hub มีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่งไปยังทุก ๆ พอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับ Hub จะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย ฉะนั้นยิ่งมีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้ากับ Hub มากเท่าใด ยิ่งทำให้แบนด์วิธต่อคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องลดลง ในท้องตลาดปัจจุบันมี Hub หลายชนิดจากหลายบริษัท ข้อแตกต่างระหว่าง Hub เหล่านี้ก็เป็นจำพวกพอร์ต สายสัญญาณที่ใช้ ประเภทของเครือข่าย และอัตราข้อมูลที่ Hub รองรับได้
                  


การที่อุปกรณ์เครือข่ายอีเธอร์เน็ตสามารถทำงานได้ที่ความเร็ว 2 ระดับ เช่น 10/100 Mbps นั้น ก็เนื่องจากอุปกรณ์เครื่องนั้นมีฟังก์ชันที่สามารถเช็คได้ว่าอุปกรณ์ หรือคอมพิวเตอร์ที่มาเชื่อมต่อกับHub นั้นสามารถรับส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงสุดเท่าใด และอุปกรณ์นั้นก็จะเลือกอัตราข้อมูลสูงสุดที่รองรับทั้งสองฝั่ง ฟังก์ชันนี้จะเรียกว่า "การเจรจาอัตโนมัติ (Auto-Negotiation)" ส่วนใหญ่ Hub หรือSwitch ที่ผลิตจะมีฟังก์ชันนี้อยู่ เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายอีเธอร์เน็ตที่ความเร็วต่างกันได้ ถ้ามีอุปกรณ์เครือข่าย หรือคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องเชื่อมต่อเข้ากับ Hub และแต่ละโหนดสามารถส่งข้อมูลได้ในอัตราที่ต่างกัน Hub ก็จะเลือกอัตราส่งข้อมูลที่อัตราความเร็วต่ำสุด เนื่องจากคอมพิวเตอร์เหล่านี้จัออยู่ในคอลลิชันโดเมน (Collision Domain) เดียวกัน ตัวอย่างเช่น ถ้า LAN การ์ดของคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งสามารถรับส่งข้อมูลได้ที่่ 10 Mbps ส่วน LAN การ์ดของคอมพิวเตอร์ที่เหลือสามารถรับส่งข้อมูลได้ 10/100 Mbps แล้วคอมพิวเตอร์เหล่านี้เชื่อมต่อเข้ากับ Hub เดียวกันที่รองรับอัตราความเร็วที่ 10/100 Mbps เครือข่ายนี้ก็จะทำงานที่ความเร็ว 10 Mbps เท่านั้น แต่ถ้าเป็น Switchอัตราความเร็วจะขึ้นอยู่กับความเร็วของคอมพิวเตอร์ เนื่องจาก Switch จะแยกคอลลิชันโดเมน
ความเร็วในการรับส่งข้อมูลของฮับ                                       
 ความเร็วต่ำสุดคือ 10 MBPS                                  
 ความเร็วสูงสุดคือ 100 MBPS
 บางรุ่นรองรับทั้ง 10 และ 100 เรียกว่า 10/100 MBPS : MBPS ย่อมาจาก Megabit
Per Second (เมกกะบิตต่อวินาที)
hub นั้นทำงานในระดับ layer 1 ซึ่งเป็น layer เกี่ยวข้องกับ เรื่องของการส่งสัญญาณออกไปสู่media หรือ สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสาร รวมไปถึงเรื่องของการเข้ารหัสสัญญาณเพื่อที่จะส่งออกไปเป็นค่าต่างๆในทางไฟฟ้า และ เป็น layer ที่กำหนดถึง การเชื่อมต่อต่างๆที่เป็นไปในทาง physical hubนั้น จะทำงานในลักษณะของการทวนสัญญาณ หมายถึงว่า จะทำการทำซ้ำสัญญาณนั้นอีกครั้งซึ่งเป็นคนละอย่างกับการขยายสัญญาณพอทำแล้วก็จะส่งออกไปยังเครือข่ายที่เชื่อมต่ออยู่โดยจะมีหลักว่า จะส่งออกไปยังทุกๆ port ยกเว้น port ที่เป็นตัวส่งสัญญาณออกมาและเมื่อปลายทางแต่ละจุดรับข้อมูลไปแล้ว ก็จะต้องพิจารณา ข้อมูลที่ได้มา ว่าข้อมูลนั้นส่งมาถึงตัวเองหรือไม่ ถ้าหากไม่ใช่ข้อมูลที่จะส่งมาถึงตัวเอง ก็จะไม่รับข้อมูลที่ส่งมานั้นการทำงานในระดับนี้ ถ้าดูในส่วนของตัว hub เองนั้น จะเห็นได้ว่า ตัวของ hub นั้นเวลาส่งข้อมูลออกไป จะไม่มีการพิจารณาข้อมูลอย่างพวก Mac address ของ layer 2หรือ IP addressซึ่งเป็นของ layer 3 เลย

ประเภทของ Hub
- Intelligent Hub เป็นฮับที่สามารถจัดการควบคุม บางอย่างกับโหนด ที่เชื่อมต่ออยู่ เช่น การอนุญาตให้ผู้บริหารระบบเครือข่ายควบคุมแต่ละพอร์ตได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นการสั่งให้ทำงาน หรือ หยุด ทำงานก็ตาม Intelligent Hub บางประเภท สามารถเฝ้าติดตาม กิจกรรมของระบบเครือข่ายได้ เช่น ติดตามจำนวนแพ็กเกจที่ส่งผ่าน และการเกิดความ ผิดพลาดขึ้นในแพ็กเกจเหล่านั้น
-  Standalone Hub เป็นอุปกรณ์ภายนอกที่เชื่อมต่อ เข้ากับ เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นฮับที่พบ เห็นโดยทั่วไป ซึ่งไม่มีความสามารถในการจัดการ มีเฉพาะความสามารถในการ เชื่อมต่อไปยังฮับ ตัวอื่น เท่านั้น
- Modular Hub เป็นฮับที่สามารถจัดการได้โดยมีลักษณะเป็น การ์ดสล็อต การ์ดแต่ละ ตัวจะมีการ ทำงานเช่นเดียวกับ Standalone Hub 1 ตัว การใช้ฮับ ประเภทนี้ทำให้สามารถขยาย ระบบเครือ ข่ายได้โดยง่าย บางตัวก็สามารถสนับสนุน การเชื่อม ต่อกับเครือข่ายได้มากกว่า 1 ประเภท เช่น ใช้ได้กับ ระบบ เครือข่ายทั้งแบบ Ethernet และ Token Ring
ฮับที่นิยมใช้มี 2ประเภท คือ
1. Small Hub มีจำนวนพอร์ต RJ-45 ประมาณ 4, 5, 8, 12 และ 16 พอร์ต แล้วแต่รุ่น เหมาะกับระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มากนัก ประมาณ 3-16 เครื่อง

2. Rack mount Hub ขนาดความกว้าง 19 นิ้ว พอร์ต RJ-45 มีมากตั้งแต่ 12, 16, 24 ถึง 48พอร์ต เหมาะสำหรับใช้งานในเครือข่ายขนาดใหญ่ ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 12 เครื่องขึ้นไป ฮับใหญ่บางรุ่นจะมี Fiber Module สำหรับเชื่อมโยงอุปกรณ์ผ่านใยแก้วนำแสง


http://hubs-switch.blogspot.com/2013/02/hub.html

                           

Wireless USB Adapter

Wireless USB Adapter

Wireless USB Adapter สำหรับตัวของ Wireless USB Adapter หากพูดให้เข้าใจง่ายๆ มันก็คืออุปกรณ์ที่ใช้ รับ-ส่ง สัญญาณระหว่าง Wireless Router ทำให้ในการใช้งานเราไม่ต้องลากสาย LAN มาเชื่อมต่อกับอุปกณ์นั้นๆ เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่ส่วนใหญ่ล้วนต้องเชื่อมต่อเข้ากับระบบ Network ผ่านทางสาย LAN (RJ45) หรือแม้แต่สมาร์ททีวีในยุคแรกๆ ที่ในสเปคได้ระบุไว้ว่ารองรับ Wi-Fi Ready ก็สามารถใช้ Wireless USB Adapter เป็นตัวรับสัญญาณ Wi-Fi     สาย Coax  จัดอยู่ใน OSI Physical Layer and Network Layer

http://adafez.blogspot.com/2016/09/network-adapter-isa-mbps-mbps-rj-45-osi_19.html

แอ็คเซสพอยต์ (Access Point)

แอ็คเซสพอยต์ (Access Point)


   แอคเซสพอยต์ (Access points) เป็นอุปกรณ์ที่มีมาพร้อมกับระบบไร้สายตั้งแต่แรกเริ่ม ตามมาตรฐาน 802.11 ได้ให้คำนิยามของแอคเซสพอยต์ว่าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานระบบไร้สายเข้ากับระบบเครือข่ายที่ต้องใช้สายสัญญาณ อย่างเช่นระบบอีเทอร์เน็ต (Ethernet) เป็นต้น การทำงานหลักๆ ของแอคเซสพอยต์ ยังคงต้องเน้นการควบคุมและรักษาความปลอดภัยให้กับผู้ที่เข้ามาใช้งานบนเครือข่ายไร้สายในสภาพแวดล้อมที่ต้องใช้งานบนย่านความถี่เดียวกันพร้อมๆ กันหลายคน
      
       Wireless LAN bridges จะแตกต่างจากแอคเซสพอยต์แบบธรรมดาอย่างไร ให้เราลองหลับตา และนึกถึงสะพานที่เราเห็นอยู่ทุกวัน นั่นคือบริดจ์ (Bridge) จะทำหน้าที่เชื่อมสองฝั่งแม่น้ำหรือถนนเข้าด้วยกัน และทำให้ยานพาหนะต่างๆ วิ่งข้ามไปได้ ทางด้านอุตสาหกรรมได้ให้นิยามของบริดจ์ว่า คือสิ่งของคู่หนึ่งที่ทำหน้าที่เชื่อมสองเครือข่ายให้สามารถใช้งานไปได้พร้อมๆ กัน หรือจะแตกต่างกันในระดับ Data Link Layer Protocol หรือบางคนจะเรียกว่า LAN-to-LAN bridging
       
       บริดจ์แบบดั้งเดิมจะใช้ลักษณะการเชื่อมต่อแบบลีดส์ไลน์ สายโทรศัพท์ และมีเดียอื่นๆ ที่ทำหน้าที่เชื่อมระบบ LAN สองฝั่งเข้าด้วยกัน โดย Wireless Bridges เป็นระบบที่ง่ายที่สุดของเทคโนโลยีไร้สายในการเชื่อม LAN ทั้งสองฝั่งเข้าด้วยกัน
      




       ชนิดของ WLAN Bridges
      
       เครือข่าย Wi-Fi เมื่อติดตั้งเป็นแบบ bridging mode จะอนุญาตให้แอคเซสพอยต์ไร้สายตั้งแต่สองตัวขึ้นไปสื่อสารระหว่างกัน โดยที่แอคเซสพอยต์แต่ละตัวเสมือนเป็นสมาชิกของ LAN ทุกวง เราสามารถแบ่งระดับของ Wi-Fi bridging mode จากการทำงานของตัวอุปกรณ์เอง Wireless Bridge บางตัวสนับสนุนการทำงานแค่ single point-to-point คือเชื่อมต่อระหว่างบริดจ์ตัวอื่น แต่เป็นเพียงตัวต่อตัว บางชนิดจะสนับสนุนการทำงานแบบ point-to-multipoint คือทำหน้าที่เชื่อมต่อกับบริดจ์พร้อมๆ กันทีละหลายๆ ตัว และก็มีบาง Wireless Bridge ที่ทำหน้าที่เป็นแอคเซสพอยต์ได้ด้วย
      
       แอคเซสพอยต์เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างระบบไร้สาย เข้ากับระบบเครือข่ายที่ต้องใช้สายสัญญาณ ผู้ใช้งานเครือข่ายไร้สายจะสามารถใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตหรือดึงข้อมูลจากระบบเครือข่ายได้ง่ายๆ เมื่อติดตั้ง Wireless Bridge ให้ทำงานเป็น AP Mode การทำงานของอุปกรณ์จะเป็นเหมือน Wireless Access Point ธรรมดาตัวหนึ่ง
      
       กรณีศึกษา
      
       สิ่งที่ต้องคำนึงถึง เมื่อจะวางระบบเป็น Wireless Bridge นั่นคือเราจะต้องรู้ระยะห่างระหว่างบริดจ์แต่ละตัว ซึ่งระยะทางนี้จะสัมพันธ์กับความสามารถในการรับ-ส่งข้อมูล เช่น ถ้าหากระยะทางสูงสุดที่ Wireless Bridge สามารถส่งไปถึงคือ 1 กิโลเมตรหรือน้อยกว่านั้น นั่นหมายความว่าในระยะนี้จะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ อยู่เลย
      
       ถ้าเป็นตึกที่ใกล้กันมากๆ อาจจะทำการส่งสัญญาณเชื่อมถึงกันผ่านหน้าต่างชั้นใดชั้นหนึ่งออกไปได้ หรือบางทีอาจจะต้องการอุปกรณ์ติดตั้งเพิ่มเติมเพื่อทำให้บริดจ์นั้นทำงานภายนอกอาคารได้ การทำงานแบบนี้อาจจะใช้งานได้เป็นการชั่วคราว หากจะทำการติดตั้งเป็นการถาวรต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น เวลาที่ใช้งาน หรือ สภาพภูมิอากาศเข้ามาเกี่ยวข้อง
      
       สิ่งที่ต้องจำให้ขึ้นใจ นั่นก็คือวัสดุที่เป็นหน้าต่างหรือทางที่สัญญาณจะต้องส่งผ่าน (เช่น โลหะต่างๆ ความหนาของวัสดุหรือกระจก รวมถึงหมอกหรือควัน ล้วนมีผลกระทบกับการลดทอนของคลื่นวิทยุทั้งสิ้น
      
       1. กรณีที่เห็นปลายทาง ถ้าเราสามารถเห็นทุกจุดที่ส่งสัญญาณไปถึง คุณต้องคำนวณดูว่าเป็นระยะทางเท่าใด และต้องการอัตราการส่งข้อมูลเท่าไร เพราะทั้งสองสิ่งนี้มีความสัมพันธ์กัน ถ้าระยะทางยิ่งห่าง อัตราการรับ-ส่งข้อมูลจะยิ่งลดน้อยลงไปมากเท่านั้น ถ้าหากมีสิ่งกีดขวาง (อาจเพราะมีต้นไม้หรือวัตถุอื่น) บังสัญญาณอยู่ คุณอาจจะต้องติดตั้งเสาอากาศที่มีกำลังส่งมากกว่าเดิม คุณสามารถเชื่อมทั้งสองฝั่งเข้าด้วยกันด้วยงบประมาณที่ไม่มาก
      
       2. สภาวะอากาศในพื้นที่โล่งกว้างเป็นไปได้ว่าสัญญาณอาจถูกลดทอนได้จากสภาวะอากาศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพายุฝนฟ้าคะนอง หิมะตก หมอกควัน สิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลกับการรบกวนของสัญญาณทั้งสิ้น อาจจะถึงขั้นทำให้สัญญาณขาดหายไปได้
      
       คุณควรจะมีอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ซึ่งจะช่วยป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ของคุณได้ ปกติถ้าคุณมีสายล่อฟ้าอยู่แล้วก็จะช่วยเพิ่มการป้องกันความเสียหายได้มากยิ่งขึ้น นั่นหมายความว่าคุณต้องตรวจดูด้วยว่าระบบสายดินที่ใช้จะต้องมีความต้านทานต่ำมากๆ ถึงจะสามารถป้องกันฟ้าผ่าได้ดี
      
       3. หากต้องการเพิ่มระยะทางครอบคลุมให้ได้ไกลยิ่งขึ้น บริดจ์แต่ละแบบจะมีระยะทางการส่งสัญญาณที่จำกัด ซึ่งก็ขึ้นกับปัจจัยภายนอกเช่น สภาพแวดล้อมแต่ละที่ด้วย ข้อจำกัดในตัวอุปกรณ์ตั้งแต่ผลิตจากโรงงานทำให้บริดจ์ที่เป็น indoor กับ outdoor มีขีดความสามารถและประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งส่วนใหญ่แบบที่เป็น outdoor จะมีกำลังส่งสูงกว่าแบบที่เป็น indoor แต่ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน เมื่อเกินจากระยะทางการส่งสัญญาณที่กำหนด ประสิทธิภาพของการรับ-ส่งข้อมูลจะลดลง
      
       มีอยู่หลายวิธีที่จะเพิ่มระยะการส่งสัญญาณ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มเสาอากาศที่มีกำลังส่งสูงขึ้น หรือเพิ่มชุดอุปกรณ์ขยายกำลังส่ง ทำให้เราสามารถส่งสัญญาณไปในระยะทางที่ไกลขึ้นได้
      
       4. การสำรวจพื้นที่ที่จะทำการติดตั้ง – การรบกวนกันของสัญญาณ การใช้งานที่เป็นมาตรฐาน 802.11g ไม่ต้องขออนุญาตในการใช้งานจากทางรัฐบาล เช่นเดียวกับมาตรฐาน 802.11b ปกติอุปกรณ์ที่ใช้ในย่านความถี่นี้จะสามารถใช้ได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์กล้องที่เป็นไร้สายหรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้งานในย่านความถี่เดียวกัน จะมีการรบกวนของสัญญาณ เราสามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยการเลือกเปลี่ยนไปใช้งานช่องสัญญาณอื่นที่ว่างอยู่
      
       เราแนะนำให้คุณตรวจสอบคลื่นสัญญาณวิทยุด้วยการทำการสำรวจไซต์ ก่อนที่จะมีการติดตั้งอุปกรณ์จริง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการรบกวนของสัญญาณ การชนกันของแต่ละช่องความถี่ ทำให้เราทราบว่าในแต่ละพื้นที่มีการใช้งานในความถี่ใดบ้าง เมื่อเราจะติดตั้งอุปกรณ์ที่ใช้สัญญาณไร้สายเข้าไป ควรจะหลีกเลี่ยงไปใช้ช่องสัญญาณอื่นที่ไม่ถูกใช้งาน ดังนั้นการทำการสำรวจไซต์คือการติดตั้งอุปกรณ์บริดจ์ขึ้นมาชั่วคราว เพื่อเป็นเครื่องมือวัดระดับสัญญาณ กำหนดทิศทาง คำนวณความแรงของสัญญาณหรือเลือกใช้เสาอากาศที่เหมาะสม รวมถึงช่วยให้เราสามารถกำหนดตำแหน่งที่จะติดตั้งอุปกรณ์จริง ทำให้เราสามารถเตรียมอุปกรณ์ หรือจำนวนได้ถูกต้องและเหมาะสม

ที่มา http://www.moe.go.th/moe/upload/itnews/htmlfiles/16588-9506.html

โมเด็ม (Modems)

โมเด็ม (Modems)


ป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภายนอกได้อย่างง่ายดาย โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ของคุณสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทำงานของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วยการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคู่สายของโทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็มจะทำการแปลงสัญญาณดิจิตอล (digital signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์
คำว่า โมเด็ม(Modems) มาจากคำว่า (modulate/demodulate) ผสมกัน หมายถึง กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสารดิจิตอลให้อยู่ในรูปของอนาล็อกแล้วจึงแปลงสัญญาณกลับเป็นดิจิตอลอีกครั้งหนึ่งเมื่อโมเด็มของคุณต่อเข้ากับโมเด็มตัวอื่นความแตกต่างของโมเด็มแต่ละประเภท

โมเด็มแต่ละประเภทจะมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้
1. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ
          ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ หมายถึง อัตรา (rate) ที่โมเด็มสามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโมเด็มอื่นๆมีหน่วยเป็น บิต/วินาที (bps) หรือ กิโลบิต/วินาที (kbps) ในการบอกถึงความเร็วของโมเด็มเพื่อให้ง่ายในการพูดและจดจำ มักจะตัดเลขศูนย์ออกแล้วใช้ตัวอักษรแทน เช่น โมเด็ม 56,000 bps จะเรียกว่า โมเด็มขนาด 56 K
2. ความสามารถในการบีบอัดข้อมูล
   ข้อมูลข่าวสารที่ส่งออกไปบนโมเด็มนั้นสามารถทำให้มีขนาดกะทัดรัดด้วยวิธีการบีบอัดข้อมูล  (compression) ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละเป็นจำนวนมากๆ เป็นการเพิ่มความเร็วของโมเด็มในการรับ - ส่งสัญญาณ
3. ความสามารถในการใช้เป็นโทรสาร
   โมเด็มรุ่นใหม่ๆ สามารถส่งและรับโทรสาร (Fax capabilities) ได้ดีเช่นเดียวกับการรับ - ส่งข้อมูล หากคุณมีซอฟท์แวร์ที่เหมาะสมแล้วคุณสามารถใช้แฟคซ์โมเด็มเป็นเครื่องพิมพ์(printer)ได้เมื่อคุณพิมพ์เข้าไปที่แฟคซ์โมเด็มมันจะส่งเอกสารของคุณไปยังเครื่องโทรสารที่ปลายทางได้
4. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด
   โมเด็มจะใช้วิธีการควบคุมความผิดพลาด (error control) ต่างๆ  มากมายหลายวิธีในการตรวจสอบเพื่อการยืนยันว่าจะไม่มีข้อมูลใดๆสูญหายไประหว่างการส่งถ่ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
5. ออกแบบให้ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก
   โมเด็มที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่วๆ ไปจะมี 2 รูปแบบ คือ โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (external modems) และ แบบติดตั้งภายใน (internal modems)
6. ใช้เป็นโทรศัพท์ได้
   โมเด็มบางรุ่นมีการใส่วงจรโทรศัพท์ธรรมดาเข้าไปพร้อมกับความสามารถในการรับ - ส่งข้อมูลและโทรสารด้วย

ใช้โมเด็มทำอะไรได้บ้าง
        เราสามารถใช้โมเด็มทำอะไรต่างๆ ได้หลายอย่าง เช่
            1. พบปะพูดคุย
            2. ใช้บริการต่างๆ จากที่บ้าน
            3. ท่องไปบนอินเทอร์เน็ต
            4. เข้าถึงบริการออนไลน์ได้
            5. ดาวน์โหลดข้อมูล, รูปภาพและโปรแกรมแชร์แวร์ได้
            6. ส่ง - รับโทรสาร
            7. ตอบรับโทรศัพท์

การเลือกซื้อโมเด็ม
        สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกซื้อโมเด็มมาใช้งาน เช่น
            1. เข้ากันได้กับระบบคอมพิวเตอร์ของคุณ
            2. เข้ากันได้กับระบบทำงาน OS ของคอมพิวเตอร์ของคุณ
            3. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ
            4. เป็นโมเด็มภายนอกหรือภายใน
            5. การบีบอัดข้อมูล
            6. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด
            7. รับ - ส่งโทรสารได้
            8. ซอฟท์แวร์สื่อสาร

สิ่งที่ต้องใช้ร่วมกับโมเด็ม
        การที่สามารถใช้โมเด็มให้เกิดประโยชน์จากแหล่งข้อมูลนั้นจะต้องตรวจสอบว่ามีสิ่งเหล่านี้พร้อมหรือไม่
            1. ซอฟท์แวร์สื่อสาร
            2. พอร์ทอนุกรม (serial port)
            3. fast UART เป็นซิฟตัวหนึ่งที่ติดตั้งบนพอร์ทอนุกรมของคอมพิวเตอร์
               เพื่อควบคุมการไหลของข้อมูลเข้าและออกจากพอร์ทอนุกรม
            4. serial cable เป็นสาย cable ที่นำมาต่อโมเด็มกับพอร์ทอนุกรมของคอมพิวเตอร์
               (ต้องตรวจสอบดูว่าเป็น connector แบบ 9 ขา หรือ 25 ขา)
            5. expansion slot ถ้าโมเด็มเป็นแบบติดตั้งภายในจะต้องมี expansion slot ใช้งาน
               โดยจะต้องถอดฝาครอบตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ออกและติดตั้งโมเด็มลงไปบน expansion slot


ที่มา https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/hardware/modem.htm